โรคที่พบบ่อยในคนอ้วนมาก
โรคความดันโลหิตสูง
เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยจะตรวจพบความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าปรกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ในปี 1999 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอทถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และ การที่ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต ฯลฯ
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
1. อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ขณะอายุ 18 ปี ความดันโลหิต เท่ากับ 120/80 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิต อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90 แต่ก็ไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าอายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้นเสมอไป อาจวัดได้ 120/80 เท่าเดิมก็ได้
2. เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน ตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าความดันซิสโตลิกอาจจะวัดได้ 130 มม.ปรอท ขณะที่ ตอนช่วงบ่ายอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม.ปรอท เป็นต้น
3. จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ขณะที่ได้รับความเครียด อาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท ขณะที่พักผ่อนความดันโลหิตก็จะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เมื่อรู้สึกเจ็บปวดก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน
4 เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง
5. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว สิ่งแวดล้อม ที่เคร่งเครียด ก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
6. สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบ
7. เชื้อชาติ พบว่าชาวแอฟริกันอเมริกันมีความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว
8. ปริมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อย ตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุ่นตอนเหนือรับประทานเกลือมากกว่า 27 กรัม/วัน มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงถึง 39% ส่วนชาวญี่ปุ่นตอนใต้รับประทานเกลือวันละ 17 กรัม/วัน เป็นมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพียง 21%
ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท
ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท
ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180/110 มม.ปรอท
การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก ควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆอาการของผู้ป่วยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ
ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีด้วยกันคือ
กรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
กรณีที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้
จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจากหัวใจวายถึง 60-75 % , เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตัดหรือแตก 20-30 % และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 %
โรคไขมันในเลือด
ไขมันในเลือดเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาเมื่อท่านไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพและพบว่าไขมันในเลือดสูง แพทย์มักจะแนะนำว่า ให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ แต่ปัจจุบันต้องเน้นถึงชนิดของไขมันในอาหาร หากมีไขมันที่ไม่ดีมากก็จะทำให้เกิดโรคหัวใจได้ง่ายขึ้น หากมีไขมันดีมากจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ
ไขมัน Cholesterol คืออะไร
Cholesterol จะพบว่าเป็นส่วนประกอบของเซลล์ผิว ฮอร์โมนและอยู่ในกระแสเลือด ร่างกายของคนเราได้ cholesterol จากสองแหล่ง คือ
•จากอาหารที่เรารับประทาน เช่นเครื่องใน เนื้อ นม ไขมันที่เรารับประทานเข้าไปจะไปสะสมในตับ
•จากการสร้างของตับ
Total Cholesterol
เป็นผลรวมของไขมันทุกชนิดของร่างกาย หากมีค่าสูงก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ทุกชนิดของร่างกาย หากมีค่าสูงก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
ระดับTotal Cholesterol
- น้อยกว่า 200 mg/dL
"ระดับไขมันที่ต้องการ" ไขมันระดับนี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจต่ำ ค่าที่มากกว่า 200 มก.%จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
- · 200 - 239 mg/dL
"ความเสี่ยงปานกลาง."
- · 240 mg/dL and above
"ความเสี่ยงสูง" ผู้ที่มีไขมันระดับนี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเป็น 2 เท่าของผู้ที่มีไขมันต่ำกว่า 200มก.%L.
วิธีการลด Total Cholesterol
•ลดอาหารไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 10%ของปริมานไขมันทั้งหมด
•ลดอาหารที่มีไขมันให้น้อยกว่า30%ของพลังทั้งหมดที่ได้ในแต่ละวัน
•ทานอาหารที่มีกาก
•คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
Triglycerides
เป็นไขมันที่ประด้วยกรดไขมัน 3 ชนิดรวมกัน Triglyceride มาจาก
•จากอาหารที่เรารับประทาน
•จากการสร้างในตับ
ชั่วโมงการทำงานที่อัดแน่นด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ กำลังคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน อีกไม่นาน... การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบนี้ อาจทำให้ โรคหัวใจ ระบาดทั่วเมือง... เป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะโรคหัวใจที่เกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ นอกจากนั้นยังเกิดโรคหัวใจที่ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ สำหรับประเทศไทยอัตราการเกิดโรคหัวใจ เพิ่มขึ้นอย่างมาก และอัตราการตาย เพิ่มขึ้นเป็นอันดับต้นๆของประเทศ เรามาเรียนรู้โรคเกี่ยวกับโรคหัวใจ
· โรคหัวใจ
หัวใจของเราประกอบไปด้วย เยื่อหุ้มหัวใจ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ โรคที่เกิดกับอวัยวะเหล่านี้เราเรียกรวมว่าโรคหัวใจซึ่งพอจะอธิบายพอสังเขปดังนี้
Coronary artery disease
เป็นโรคที่เกิดกับหลอดเลือด Coronary artery ซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่ทางการแพทย์เรียก CAD สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด(ที่เรียกว่า angina pectoris) หากเป็นมากกล้ามเนื้อหัวใจตายที่เรียกว่า Acute Myocardial infartion ซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิตมาก อ่านที่นี่
Coronary heart disease
หมายถึง การที่เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจ เช่นการเจ็บหน้าอก การเกิดช็อกจากหัวใจเป็นต้น
Cardiomyopathy
เป็นโรคที่เกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุอาจจะเกิดจากพันธุกรรม โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอาจจะหนาตัว (Hypertrophic) หัวใจอาจจะพองโต(dilate) หากไม่ทราบสาเหตุเราเรียก idiopathic
•Idiopathic dilated cardiomyopathy หัวใจพองโตโดยไม่ทราบสาเหตุ
•Hypertrophic cardiomyopathy โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา
Vulvular Heart Disease
โรคที่เกิดกับลิ้นหัวใจซึ่งอาจจะเกิดตีบ (stenosis) หรือลิ้นหัวใจรั่ว(regurgitant or insufficiency) ซึ่งอาจจะเกิดที่ลิ้นหัวใจลิ้นใดลิ้นหนึ่งหรือหลายลิ้น(ปกติเรามีลิ้นหัวใจอยู่ 4 ลิ้น ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องบนและล่างของข้างซ้ายเรียก mitral valve ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องบนและล่างของข้างขวาเรียก Tricuspid valve ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta เรียก aortic valve ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องล่างของข้างขวาไปปอดเรียก Pulmonamic valve ) สาเหตุของความผิดปกติอาจจะเกิดจากกรรมพันธ์ การอักเสบจากลิ้นหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก ยา การฉายแสง
โรคเบาหวาน
หมายถึง การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เบาหวานที่พบบ่อยแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
· เบาหวานชนิดที่ 1 มักจะเกิดก่อนอายุ 20 ปี และเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ เนื่องจากเซลล์ผลิตอินซูลินที่ตับอ่อนถูกทำลาย
· เบาหวานชนิดที่ 2 มักพบเมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป แต่อาจพบในคนอายุน้อยได้เช่นกัน เบาหวานชนิดนี้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ไขมันในช่องท้องที่ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี (ภาวะดื้อต่ออินซูลิน) ตับอ่อนจะต้องพยายามสร้างและหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าอ้วนลงพุงอยู่แล้วนานถึงจุดหนึ่ง ปริมาณการหลั่งอินซูลินที่มีเพิ่มขึ้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ จึงเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้นได้ นอกจากนี้ ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงขึ้นจะมีผลต้านการออกฤทธิ์ของอินซูลิน อีกทั้งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ กก. จะทำให้ร่างกายนำอินซูลินไปใช้งานได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ
คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนที่ไม่อ้วน 2 – 3 เท่า โดยเฉพาะคนอ้วนที่มีประวัติในครอบครัวเป็นเบาหวานจะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากกว่าร้อยละ 70 การศึกษาในต่างประเทศพบว่าในคนอ้วนถ้าลดน้ำหนักลงอย่างน้อยร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัว ร่วมกับการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอจะป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 58 การลดน้ำหนักจะลดความดื้อต่ออินซูลินได้ โอกาสที่จะเป็นเบาหวานก็น้อยลง หรือที่เป็นอยู่แล้ว การควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ลงสู่ปกติก็จะกระทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การเลือกอาหารอย่างเหมาะสมจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดน้ำหนักได้ ซึ่งจะมีผลให้ร่างกายสามารถใช้อินซูลินได้ดีขึ้น
- การลดน้ำหนักจะช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างเห็นได้ชัด
- การลดน้ำหนักจะช่วยป้องกันการก่อตัวของโรคก่อนที่จะเกิดเบาหวานชนิดที่ 2
- การลดน้ำหนักตัวจะช่วยให้มีการตอบสนองต่อยาที่รักษาได้ดีขึ้น
- การลดน้ำหนักจะส่งผลดีต่อความดันโลหิต และไขมันในเลือดลดลง
วางแผนควบคุมอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
· เลือกอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ
คาร์โบไฮเดรตทุกชนิดจะทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นไม่เท่ากัน ดังนั้น ควรเลือกอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่มีน้ำตาลต่ำ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ น้ำตาลกลูโคสกำหนดให้มีค่าดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 100 ดังนั้น อาหารที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดมากถึงครึ่งหนึ่งของน้ำตาลกลูโคสจะมีค่าดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 50
โรคข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมคืออะไร ?
โรคข้อเสื่อมเป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยที่สุด ในบรรดาโรคข้อทั้งหลาย พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และในคนที่มีอายุ มากกว่า 75 ปีขึ้นไปจะมีข้อเสื่อมมากกว่าร้อยละ 80-90 แต่อาจไม่มีอาการทุกคนก็ได้ คือ มีข้อเสื่อมแต่ไม่มีอาการปวด ถ้าไม่ใช้งานข้อมาก
โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ(กระดูกอ่อน เป็นกระดูกบริเวณส่วนปลายของกระดูก 2 ท่อน ที่มาเชื่อมต่อกันเป็นข้อ กระดูกอ่อนปกติ จะเรียบ มีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่ลดแรงที่กระทำต่อข้อและทำให้ข้อเคลื่อนไหวด้วยความราบรื่น ) เมื่อกระดูกอ่อนสึกมาก เวลาข้อมีการเคลื่อนไหว กระดูกแท้จะเสียดสีกันทำให้เกิดความเจ็บปวด และเกิดเสียงดัง ( ข้อลั่น ) เมื่อเป็นนาน ๆ ร่างกายจะพยายามสร้างกระดูกใหม่เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ของข้อ เกิดเป็นกระดูกงอกในภาพรังสี
· ปัจจัยที่ทำให้ข้อเสื่อม
ปัจจัยที่ทำให้ข้อเสื่อมมีหลายประการ ที่สำคัญคือ
- ความชรา โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ กระดูกอ่อนในผู้สูงอายุจะแตกต่างจากคนอายุน้อย ทำให้มีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมได้ง่ายขึ้นแต่โรคข้อเสื่อมก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุ ที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว
- น้ำหนักตัว โรคนี้พบบ่อยในคนอ้วน ยิ่งน้ำหนักตัวมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นโรค ข้อเสื่อม โดยเฉพาะข้อใหญ่ๆ ที่รับน้ำหนักตัว เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก
- การใช้งานข้อที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ คุกเข่า เหล่านี้ก็ทำให้ข้อมี โอกาส เกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงในกระดูกอ่อน ที่เกิดในโรคบางอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การติดเชื้อในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบในข้อ และทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อทำให้ข้อเสื่อมได้
โรคทางระบบทางเดินหายใจ
โรคอ้วนหรือภาวะที่มีน้ำหนักเกินมากกว่าปกติเป็นโรคที่พบได้บ่อยเพิ่มขึ้นในประชากรชาวไทย จากเดิมที่เมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่แล้ว คนไทยมีปัญหาเรื่องขาดสารอาหารเป็นปัญหาทางโภชนาการที่สำคัญเพียงไม่กี่ปีที่ประเทศมีการพัฒนาขึ้น ปัญหาการขาดสารอาหารก็พบน้อยลงเรื่อยๆ แต่กลับพบปัญหาของการบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของสังคมที่แต่เดิมเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ผู้คนต้องใช้แรงงานในการทำงานเป็นหลัก มาเป็นการใช้แรงในการทำงานน้อยลง จึงก่อให้เกิดปัญหาของการมีน้ำหนักมากเกินปกติและโรคอ้วนตามมาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
· โรคอ้วนเป็นโรคที่ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมาได้หลายโรค โดยโรคที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและโรคเกาต์ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังก่อให้เกิดปัญหาต่อร่างกายได้เกือบทุกระบบ ซึ่งระบบทางเดินหายใจก็มีอาการผิดปกติขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคอ้วน ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยก็ตามโรคระบทางเดินหายใจที่เกิดตามมาของ
· ผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน คือ ภาวะการหายใจลดลงในคนอ้วน หรือ obesity hypoventilation syndrome และ sleep apnea syndrome นอกจากนี้โรคอ้วนยังอาจทำให้อาการของ โรคระบบทางเดินหายใจที่เป็นอยู่เดิม เช่นโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง มีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อเทียบกับคนที่มีน้ำหนักปกติ ในบทความนี้จะกล่าวถึง
· ภาวะการหายใจลดลงในคนอ้วน หรือ obesity hypoventilation syndrome เป็นสำคัญ ภาวะการหายใจลดลงในคนอ้วน เป็นโรคที่มีการรายงานในวารสารทางการแพทย์มานานถึง 50 ปี ผู้ป่วยภาวะนี้มีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นโรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่าปกติอย่างชัดเจน มีก๊าซออกซิเจนในเลือดต่ำ ร่วมกับมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงและง่วงนอนเกือบตลอดเวลา ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายกับตัวละคร ในเรื่อง The Pickwick Papers ที่เขียนโดยCharles Dickens ที่มีลักษณะอ้วนและหลับทั้งวันจึงมีชื่อกลุ่มอาการนี้อีกชื่อว่า Pickwickian syndrome
· ภาวะการหายใจลดลงในคนอ้วน และ sleep apnea มีลักษณะที่คล้ายกัน คือ มีอาการง่วงนอนมากกว่าปกติในเวลากลางวัน แต่ภาวการณ์หายใจลดลงใน คนอ้วน จะพบได้ในคนที่มีน้ำหนักมากกว่า โดยวัด body mass index เฉลี่ยได้ 40 กก./ตร.เมตร เมื่อเทียบกับ sleep apnea มี body mass index เฉลี่ย เท่ากับ 32 กก./ตร.เมตร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่จะเกิดภาวะการหายใจลดลงในคนอ้วนนั้น ต้องเป็นคนที่มีน้ำหนักมาก หรือเป็นคนอ้วนมากอย่างชัดเจนผู้ป่วยภาวะนี้มีการหายใจลดลง เนื่องมาจากการควบคุมการหายใจของสมองมีความผิดปกติร่วมกับผู้ป่วยมีน้ำหนักมาก ทำให้การหายใจเอาอากาศเข้าไปในปอดได้ลดลง จากแรงต้านของหน้าท้องที่มีไขมันจับหนา เมื่อหายใจได้น้อยก็จะทำให้ปอดบางส่วนเกิดการแฟบ มีการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ผิดปกติ มีผลให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ และเกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ และถ้าไม่ได้ทำการรักษา โดยเฉพาะการลดน้ำหนักก็จะทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้นจนเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง เช่นภาวะหัวใจล้มเหลว และการติดเชื้อ ตามมาได้ ในกรณีที่ต้องทำการผ่าตัด ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าคนทั่วไป
· นอกจากอาการของผู้ป่วยที่มีน้ำหนักที่มากเกินอย่างชัดเจนและอาการง่วงนอนมากผิดปกติแล้วอาการแสดงอื่นๆที่อาจพบได้ คือ ปลายมือปลายเท้าหรือลิ้น เป็นสีม่วง (cyanosis) อาการของหัวใจล้มเหลว ได้แก่ อาการหอบเหนื่อยเหนื่อยง่ายกว่าปกติ นอนราบแล้วหอบมากขึ้น หรือเท้าบวมเป็นต้น ผู้ป่วยภาวะนี้เกือบทุกรายจะมีปัญหาของการนอนกรน จากการที่ลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจที่มีขนาดเล็กกว่าคนทั่วไปในขณะหลับ มีผลให้ออกซิเจนในเลือดมีระดับที่ต่ำกว่าเดิม เมื่อออกซิเจนต่ำถึงระดับที่เป็นอันตราย ผู้ป่วยก็จะเริ่มรู้สึกตัวขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจอีก ทำให้เกิดการขาดการนอนที่มีคุณภาพหรือนอนหลับลึกที่เพียงพอ หรือที่เรียกว่ากลุ่มอาการ sleep apnea การที่มีความผิดปกติของก๊าซในเลือดร่วมกับ ภาวะ sleep apnea มีผลให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนเกือบตลอดวัน บางรายไม่สามารถทำงานหรือดำเนินชีวิตได้ตามปกติ การใช้พลังงานในแต่ละวันก็ยิ่งน้อยลงมีผลให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โรคที่เป็นอยู่ก็มีอาการมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การที่ง่วงนอนมากก็ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ เกิดการหลับในขณะขับขี่ยานพาหนะ หรือเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้
· ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว หรือสงสัยว่าจะเป็นโรคภาวะการหายใจลดลงในคนอ้วน ควรพบแพทย์
เพื่อทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ได้แก่ การเจาะดูก๊าซในหลอดเลือดแดงการตรวจสมรรถภาพปอด และการตรวจการนอนหลับ(sleep study) ซึ่งเป็นการตรวจที่ปลอดภัย และมีการทำเป็นประจำหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอนแล้ว การรักษาที่สำคัญคือ การแก้ไขลดน้ำหนักที่มากเกิน แต่ในผู้ป่วยบางรายทำได้ยากเนื่องจากน้ำหนักที่มากจนเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้สะดวก ร่วมกับมีโรคแทรกซ้อนจากภาวะหัวใจล้มเหลว การรักษาก็จะเป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า BIPAP ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจขนาดเล็ก ทำหน้าที่ดันลมเข้าไปในปอดในขณะหายใจเข้า และ ป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจส่วนต้นอุดตันขณะที่หายใจเข้าออก
รูปภาพที่ 1 การใช้ BIPAP ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน
การใช้ยารักษาเป็นการรักษาตามอาการและรักษา โรคแทรกซ้อนเป็นส่วนใหญ่ โรคที่พบร่วมได้บ่อยๆ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว ต่อมไธรอยด์ทำงานลดลง เป็นต้น สำหรับยาที่ใช้กระตุ้นการหายใจนั้น ได้ผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่น่าพอใจ โดยสรุปการรักษาที่สำคัญจึงเป็นการลดน้ำหนักซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาโรคอื่นไปด้วย
โรคมะเร็งบางประเภท
ภาวะโรคอ้วน (obesity) คือะไร?
คนที่มีภาวะอ้วน คือผู้ที่มีไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพในอัตราส่วนที่สูงในร่างกาย วิธีการวัดภาวะโรคอ้วนโดยมากจะคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง ที่เรียกว่า "ดัชนีมวลกาย หรือ body mass index (BMI)"
ค่า BMI คืออัตราส่วนระหว่าง
นอกจากนี้ค่า BMI ยังแสดงถึงภาวะอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินได้แม่ยำกว่าการประเมินจากน้ำหนักอย่างเดียว แนวทางการประเมินค่า BMI ในผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 20 ปี มีดังนี้
<18.5 ผอม (underweight)
18.5-24.9 สมส่วน (healthy)
25-29.9 น้ำหนักเกิน (overweight)
>30 ภาวะอ้วน (obese)
แผนภูมิแสดงการวัดค่า BMI จากน้ำหนักและส่วนสูงในผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 202022222222//
เปรียบเทียบกับผู้ที่รูปร่างสมส่วนแล้ว ผู้ที่น้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจหลอดเหลือด, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังทำให้อายุขัยสั้นลงด้วย
· น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนพบบ่อยเพียงใด?
ผลจากการสำรวจในปี 1999-2000 ของสถาบัน National Health Examination Survey (NHANES) พบว่าประมาณ 64% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนเพิ่มขึ้นประมาณ 8% เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจก่อนหน้านี้ของ NHANES III ในปี 1988-1994 เกือบ 1 ใน 3 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ที่จัดอยู่ในกลุ่มอ้วน มีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณ 7.6% จากในปี 1994 และจากข้อมูลพบว่า 30% ในประชากรที่อายุมากกว่าหนือเท่ากับ 20 ปี (ประมาณ 59 ล้านคน) มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 (เปรียบเทียบกับปี 1994 มีประชากรเพียง 23% ที่อยู่ในภาวะดังกล่าว)
· ในทางวิทยาศาสตร์ โรคอ้วนกับโรคมะเร็งสัมพันธ์กันอย่างไร?
ในปี 2001 ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าโรคมะเร็งลำไส้, เต้านม (ในวัยหมดประจำเดือน), เยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium), ไต และหลอดอาหาร มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน นอกจากนี้ในบางการศึกษารายงานว่าโรคอ้วนสัมพันธ์กับโรคมะเร็งถุงน้ำดี, ตับอ่อน และรังไข่ด้วย โรคอ้วนและการขาดการออกกำลังกาย: ประมาณ 25-30% เป็นสาเหตุหลักที่สำคัญของโรคมะเร็งลำไส้, เต้านม (วัยหมดประจำเดือน), เยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium), ไตและหลอดอาหาร
· ผู้ที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน เป็นโรคมะเร็งมีจำนวนเท่าไร และมีการเสียชีวิตเท่าไร?
ในปี 2002 ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยโรคมะเร็งประมาณ 41,000 คน ที่เกิดจากโรคอ้วน (ประมาณ 3.2% ในผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด สัมพันธ์กับโรคอ้วน) มีรายงานในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า 14% ของผู้ป่วยชายที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง และ 20% ของผู้ป่วยหญิงที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูล
· โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่?
ผลของโรคอ้วนต่อโรคมะเร็งเต้านม ขึ้นกับภาวะหมดประจำเดือนของผู้หญิง วัยก่อนหมดประจำเดือน ผู้หญิงอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าผู้หญิงที่น้ำหนักปกติ แต่สำหรับวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงอ้วนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าของหญิงที่น้ำหนักปกติ ผู้หญิงอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมในวัยหมดประจำเดือนมากกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักปกติ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม ในประเทศสหรัฐอเมริกา (ในกลุ่มอายุมากกว่า 50 ปี) มีประมาณ 11,000-18,000 คนต่อปี ถ้าไม่ควบคุมค่าดัชนีมวลกายให้ต่ำกว่า 25 โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเฉพาะกลุ่มผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่ไม่ใช่ยาฮอร์โมนเสริม ส่วนในกลุ่มที่ใช้ยาฮอร์โมนพบว่าอัตราการเกิดโรคไม่ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้หญิงอ้วนและน้ำหนักปกติ
- สาเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมและการเสียชีวิต เชื่อว่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงอ้วนก่อนวัยหมดประจำเดือน รังไข่ ทำหน้าที่หลักในการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และมีส่วนหนึ่งที่ผลิตจากเนื้อเยื่อไขมัน (fat tissue) เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนรังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมน ส่วนเนื้อเยื่อไขมัน ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนแทน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหลังหมดประจำเดือนเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 50-100% ในผู้หญิงอ้วนเทียบกับผู้หญิงผอม ดังนั้นเนื้อเยื่อที่ตอบสนองกับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะถูกกระตุ้นมากในผู้ป่วยอ้วน ซึ่งทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของก้อนเต้านมที่ตอบสนองดีกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen-responsive breast tumor)
· โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูกหรือไม่?
โรคอ้วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium) ผู้หญิงอ้วนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นประมาณ 2-4 เท่า เทียบกับผู้หญิงน้ำหนักปกติ และส่วนใหญ่อยู่ในสังคมที่ร่ำรวย ปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการกระตุ้นจากฮอร์โมน และระดับเอสโตรเจนและอินซูลินที่สูงอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้
· โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้หรือไม่?
โรคมะเร็งลำไส้พบมากขึ้นในคนที่อ้วนมากกว่าคนที่น้ำหนักปกติ มีรายงานการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ ในผู้ชายที่มีดัชนีมวลกายสูง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีมวลกายและปัจจัยเสี่ยงในผู้หญิงพบว่าน้อยหรือแทบไม่มีเลย ซึ่งต่างจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งมดลูก เอสโตรเจนจะเป็นสิ่งป้องกันมะเร็งลำไส้ในผู้หญิง อย่างไรก็ตามหากมีทั้งโรคอ้วนและระดับเอสโตรเจนก็อาจจะมีอิทธิพลต่อ
มะเร็งลำไส้ด้วย ผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงทั้งวัยก่อนหมดประจำเดือนและหลังหมดประจำเดือนพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้เหมือนกับผู้ชายที่มีค่าดัชนีมวลกายสูง สำหรับผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนและไม่ได้รับฮอร์โมน estrogen เสริม พบว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้
· โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งไตหรือไม่?
จากการศึกษาพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างชนิดของมะเร็งที่ไต (renalcell carcinoma) และโรคอ้วนในผู้หญิง ซึ่งในบางรายงานพบว่าเพิ่มความเสี่ยงประมาณ 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับคนน้ำหนักปกติ ส่วนในผู้ชายจากผลการศึกษายังสรุปไม่แน่ชัด (ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกันน้อยหรือแทบไม่เกี่ยวข้องกัน) มีการศึกษาแบบ meta-analysis พบว่าความเสี่ยงในผู้ชายและผู้หญิงเท่ากัน โดยโรคมะเร็งของไตพบประมาณ 36% ในผู้ที่น้ำหนักเกินและประมาณ 84% ในผู้ที่อ้วน กลไกของโรคอ้วนที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ไตยังไม่แน่ชัด การถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและแอนโดนเจนอาจจะเป็นกลไกหนึ่งที่สามารถอธิบายได้
· โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารหรือไม่?
ภาวะน้ำหนักเกินและความอ้วนต่างเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด adenocarcinoma ประมาณ 2 เท่าเมื่อเทียบกับคนน้ำหนักปกติ และเพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหาร (ส่วนที่ต่อจากหลอดอาหาร) การศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับมะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น squamous cell carcinomaการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งหลอดอาหารชนิด adenocarcinoma เกี่ยวข้องกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, การสูบบุหรี่ และอายุน้อยกว่า 59 ปี กลไกของโรคอ้วนที่ทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด adenocarcinoma ยังไม่แน่ชัด เชื่อว่าภาวะกรดไหนย้อนกลับจากกระเพาะอาหารในผู้ป่วยโรคอ้วนอาจจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงได้ แต่มีบางการศึกษาพบว่าในผู้ที่ดัชนีมวลกายสูง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเท่า ๆ กันเมื่อเทียบในกลุ่มที่มีและไม่มีภาวะกรดไหลย้อน
· โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่?
มีการรายงานมากกว่า 35 การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่าไม่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน แต่ก็มีบางรายงานที่พบว่าผู้ชายอ้วนมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชายที่น้ำหนักปกติโดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดลุกลาม (aggressive tumor) มี 1 การศึกษาที่รายงานว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในผู้ชายที่อัตราส่วนของรอบเอวต่อสะโพกสูงจึงเชื่อว่าภาวะไขมันสะสมที่หน้าท้องสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมลูกหมาก กลไกของโรคอ้วนที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากเชื่อว่าเกิดจากระดับของอินซูลิน, leptin และ IGF-1 (insuline-like growth factor-1)
· มีหลักฐานบ่งชี้ว่าโรคอ้วนสัมพันธ์กับมะเร็งถุงน้ำดี, มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งตับอ่อนหรือไม่?
การเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งถุงน้ำดีสัมพันธ์กับโรคอ้วนโดยเฉพาะในผู้หญิง ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับนิ่วในถุงน้ำดีซึ่งพบบ่อยในคนอ้วน และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็ง ถุงน้ำดีอย่างไรก็ตามจากงานวิจัยยังไม่สรุปแน่ชัด ผลของโรคอ้วนต่อมะเร็งรังไข่ยังไม่ชัดเจน บางการศึกษามีรายงานว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในคนอ้วน แต่บางรายงานพบว่าไม่สัมพันธ์กัน แต่มีการศึกษาที่ผ่านมาเร็วๆ นี้พบว่า ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในคนอ้วนกลุ่มวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ส่วนในผู้สูงอายุที่อ้วนไม่เพิ่มความเสี่ยง มีการศึกษาที่รายงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและมะเร็งตับอ่อน มี 1 การศึกษาเร็ว ๆ นี้พบว่าโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อน เฉพาะผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายและมีการศึกษาแบบ meta-analysis พบว่า คนอ้วนเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อนประมาณ 19% เมื่อเทียบกับผู้ที่น้ำหนักปกติ
· การป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหรือไม่?
จากการศึกษาส่วนใหญ่ได้ข้อสรุปว่าการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ แม้ว่าปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาแบบ control clinicaltrial เกี่ยวกับโรคมะเร็งและการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่มีการศึกษาแบบ observation พบว่าการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้, มะเร็งเต้านม (วัยหมดประจำเดือน), มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, มะเร็งของไต และมะเร็งหลอดอาหาร แต่ข้อมูลยังจำกัดในมะเร็งไทรอยด์และมะเร็งอื่น ๆ
· การลดน้ำหนักช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหรือไม่?
ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการลดน้ำหนักต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง การศึกษาแบบ observation เกี่ยวกับการลดน้ำหนักมีจำกัด และมีบางการศึกษาพบว่าความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมลดลงในคนที่น้ำหนักลดลง อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด การศึกษาเร็ว ๆ นี้พบว่าผู้ที่ตั้งใจและลดน้ำหนักได้มากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปอนด์และไม่กลับมาอ้วนอีก มีอัตราการเกิดมะเร็งเท่ากับผู้ที่สุขภาพสมส่วนซึ่งไม่เคยลดน้ำหนัก อย่างไรก็ตามในการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
· การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหรือไม่?
ขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาแบบ control clinical trial ถึงผลของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามมีการศึกษาแบบ observation เกี่ยวกับการออกกำลังกาย พบว่าลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม
มะเร็งลำไส้ : ในปี 2002 มีการทบทวนการศึกษาแบบ observational พบว่า การออกกำลังกายระดับปานกลางช่วยลดมะเร็งลำไส้ได้ประมาณ 50% เช่น การเดินเร็วประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จากการศึกษาส่วนใหญ่ พบว่าทั้งคนอ้วนและคนที่น้ำหนักปกติ การออกกำลังกายจะช่วยป้องกันมะเร็งได้
มะเร็งเต้านม : ความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายและมะเร็งเต้านมยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด การศึกษาส่วนใหญ่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมจะทำในกลุ่มวัยหมดประจำเดือน มีการรายงานจากสถาบัน woman's health initiative พบว่าการออกกำลังกายในหญิงวัยหมดประจำเดือน เช่น การเดินประมาณ 30 นาทีต่อวันช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมลง 20% ส่วนในคนที่น้ำหนักปกติ การออกกำลังกายจะช่วยลดมะเร็งเต้านมถึง 37% ส่วนผลด้านการป้องกัน (protective effect) ยังไม่สามารถป้องกันมะเร็งเต้านมได้ในผู้หญิงที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น