วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อัตราความชุกของโรคอ้วน

อัตราความชุกของโรคอ้วน
                 อัตราความชุกของโรคอ้วนในประเทศไทย มีอัตราเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ ในช่วงเวลา 9 ปี ของการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2529 และครั้งที่ 4 พ.ศ. 2538(ดูภาพที่ 1) กลุ่มที่มีอัตราเพิ่มสูงสุด ได้แก่ กลุ่มอายุ 40 - 49 ปี จากร้อยละ 19.1 เป็นร้อยละ 40.2 รองลงมา ได้แก่กลุ่มอายุ 20-29 ปี จากร้อยละ 2.9 เป็น ร้อยละ 20.4 สำหรับ 3 อันดับแรกของกลุ่มอายุที่มีอัตราความชุกสูงในการสำรวจครั้งที่ 4 พ.ศ. 2538 ได้แก่ กลุ่มอายุ40 - 49 ปี ร้อยละ 40.2, กลุ่มอายุ 50 - 59 ปี ร้อยละ 35.0 และกลุ่มอายุ 30 - 39 ปี ร้อยละ 29.8 




ประชากรกลุ่มวัยทำงาน
               
             ในปี พ.ศ. 2534 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้รายงานสถานะสุขภาพอนามัยของประเทศไทย พบอัตราความชุกของโรคอ้วนในกลุ่มอายุ 3 อันดับแรกที่มีอัตราความชุกสูงสุดได้แก่ กลุ่มอายุ 40 - 49ปี ร้อยละ 14.2 กลุ่มอายุ 50 - 59 ปี ร้อยละ 13.95 และกลุ่มอายุ 30 -39 ปี ร้อยละ 10.07 


                   การสำรวจภาวะโภชนาการ ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด เป็นบุคคลวัยทำงาน อายุ 30 - 60ปี (ดูภาพที่ 3) จำแนกตามกลุ่มผู้บริหารและผู้ใช้แรงงาน สำรวจทั้งในภาครัฐและเอกชนใน 4   จังหวัดใหญ่ของประเทศไทย คือ นครราชสีมา เชียงใหม่ สงขลา และ กรุงเทพฯ พบว่าบุคคลวัยทำงานจะอ้วนขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น และผู้ที่ทำงานในระดับบริหาร จะระวังดูแลน้ำหนักได้สมส่วนมากกว่าบุคคลที่ใช้แรงงาน 

เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา

                           จากการศึกษาภาวะโภชนาการ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร  จำนวน 8 โรงเรียน รวมนักเรียนทั้งสิ้น  2,885 คน โดยแบ่งเป็นสังกัดละ 2 โรงเรียน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
                    สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยติดตามชั่งน้ำหนัก – วัดส่วนสูงเด็ก  ดังกล่าว เทอมละ 1 ครั้ง รวม 6 ครั้ง ในช่วงเวลา 3 ปี ผลการศึกษาพบว่านักเรียนสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นโรคอ้วนสูงสุด ในการชั่งน้ำหนักครั้งที่ 1 - 6 พบร้อยละของโรคอ้วน ระหว่าง 25.9 - 31.5 โรงเรียนที่มีนักเรียนอ้วนรองลงมา ได้แก่โรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ร้อยละของโรคอ้วน ระหว่าง 25.7 - 28.1 โรงเรียนสังกัด  สปช. อยู่ระหว่างร้อยละ 23.3 - 27.4 ส่วนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบอัตราโรคอ้วนต่ำที่สุด อยู่ระหว่างร้อยละ 11.2 - 14.6


                    การศึกษาภาวะโภชนาการเกินมาตรฐาน ในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 อายุ 11 - 17 ปี เป็นโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา 10 โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 4 โรงเรียนและสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 2 โรงเรียน รวมเด็กทั้งหมด 7,437 คน เป็นนักเรียนหญิงในทุกชั้น โดยชั้นที่เป็นโรคอ้วนสูงสุด ได้แก่ ชั้น ม. 6 ถึงร้อยละ  24.9 รองลงมา ได้แก่ ชั้น ม. 5 ร้อยละ 24.5 ส่วนนักเรียนหญิงจะมีอัตราสูงสุดในชั้น ม. 6 และ 17.3 รองลงมา คือ ชั้น ม. 4 ร้อยละ 15.3  ผลการศึกษาแยกตามชั้นเรียน โดยรวมเพศชายและหญิง (อัตราโรคอ้วนจะยังคงอยู่ในชั้น ม. 6 ถึงร้อยละ 20.5 ชั้น ม. 5 ร้อยละ 17.9 และชั้น ม. 4 ร้อยละ 15.9 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น